วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551

งานวิทยาศาสตร์

Authentication

Authentication เป็นระบบพิสูจน์ตัวตนด้วยวิธีโอเพนซอร์ส มีหน้าที่ตรวจสอบผู้ใช้ที่เข้ามาใช้ระบบ อินเตอร์เน็ตในเครือข่ายขององค์กร จะครอบคลุมทั้งในส่วนของเครือข่ายที่ใช้สายและเครือข่ายไร้สาย
ส่วนประกอบของระบบ
ส่วนติดต่อผู้ใช้เพื่อควบคุมการเข้าใช้บริการเริ่มต้นจากการที่ผู้ใบริการเชื่อมต่อเครือข่ายด้วยสายแลนหรือผ่านอุปกรณ์ไร้สาย ระบบจะกำหนดหมายเลขไอพีให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการ และเมื่อผู้ใช้เรียกใช้งานอินเตอร์เน็ตโดยใช้โปรแกรมค้นผ่าน (Web Brower) ระบบจะแสดงหน้าจอสำหรับล็อกอินเข้าใช้งาน จากนั้นผู้ให้บริการต้องป้อนชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านที่ได้จากผู้ใช้บริการก่อน ระบบจะทำการตรวจสอบว่าผู้ใช้บริการรายนั้นมีสิทธ์ในการเข้าใช้ระบบหรือไม่ หลังจากที่ระบบตรวจสอบพบว่าผู้ใช้มีสิทธิ์เข้าใช้ระบบแล้ว ระบบจะแสดงรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับสิทธิ์ในการเข้าใช้บริการ เช่น ชื่อผู้ใช้ และนามสกุล หมายเลขไอพีที่ได้รับ เวลาที่สามารถใช้งานได้ต่อครั้ง วันหมดอายุการใช้งาน เป็นต้น
ประโยชน์ของระบบ Authentication
1 . เป็นสูตรสำเร็จในการติดตั้งอุปกรณ์ระบบเครือข่ายให้มีความมั่นคงปลอดภัยทางข้อมูลสารสนเทศโดยลดการซับซ้อนในการออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายให้มีจำนวนน้อย
2. ระบุตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตยังสามารถรับรู้นโยบาย(Policy) ที่ประกาศใช้เพื่อความถูกต้องและป้องกันภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
3. สามรถสืบคันผู้กระทำความผิด สถิติการใช้งานระบบสารสนเทศ ระบบอินเตอร์เน็ต และจัดเก็บบันทึกเป็นข้อมูลที่สามารถสืบค้นได้อย่างสะดวก
4. ประเมินพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตภายในองค์กร (Network Awareness) เพื่อจัดทำการประเมินพนักงานสำหรับงานทรัพยากรบุคคลได้
++++++++++++++++++++++++++++

วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2551

บทที่6 >> เครือข่ายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต



บทที่ 6
เครือข่ายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต


เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) > เกิดจากการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยใช้สื่อนำสัญญาณข้อมูลและอุปกรณ์เครือข่ายที่จำเป็น เพื่อให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้


ทรัพยากรในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่
1.อุปกรณ์ทางฮาร์ดแวร์
2.โปรแกรมประยุกต์
3.ข้อมูล


การเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย
-การเชื่อมต่อทางกายภาพ (Physical Connection)
-การเชื่อต่อผ่านระบบโทรศัพท์
-การเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายท้องถิ่น
-การเชื่อมต่อเครือข่ายท้องถิ่นเป็นเครือข่ายระยะไกล
-การเชื่อมต่อทางซอฟต์แวร์
-ทำได้โดยการตืตั้งซอฟต์แวร์ ซึ่งทำหน้าที่ กำหนดรูปแบบและวิธีการในการสื่อสารข้อมูล เรียกว่า โพรโตคอล (Protocal)


เครือข่ายอินเตอร์เน็ต > ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ชุดProtocal TCP/IP เป็นมาตรฐานในการสื่อสาร


TCP (Transmission Control Protocal) > ทำหน้าที่ สร้างการติดต่อและควบคุมการสื่อสารระหว่างโปรแกรมที่ทำหน้าที่ขอใช้บริการและให้บริการ


IP (Internet Protocal) > ทำหน้าที่ส่งข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง


ตำแหน่งของคอมพิวเตอร์ในเครืองข่ายอินเตอร์เน็ต
> กำหนดเป็นเลขฐานสองขนาด 32 บิต มีชื่อเรียกว่าเลข IP Address ตัวเลข IP แต่ละเครื่องจะไม่ซ้ำกัน
>แบ่งออกเป็น 4 ชุด ชุดละ 8 บิต คั่งด้วยเครื่องหมายจุด นิยมเขียนเป็นตัวเลขฐานสิบ แต่ละชุดจะมีค่าระหว่าง 0- 255 เช่น 10.4.1.39 เป็นเลข IP ของเครื่อง seahore.buu.ac.th


Subnet Mask
>เป็นหมายเลขฐานสองขนาด 32 บิต ใช้ในการกำหนดขอบเขตของเครือข่าย
>ใช้ในการทดสอบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางและปลายทางอยู่ในเครือข่ายเดียวกันหรือไม่..
>